วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2561


     โรคกระดูกพรุนกับความพรุนและความเปราะบางของกระดูก

 ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Disease หรือ NCDs) ที่นับว่ามีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าโรคร้ายแรงอื่น ๆ เพราะแม้ว่าจะเป็นโรคที่ไม่สามารถมองเห็นหรือไม่รู้สึกเจ็บปวดได้อย่างชัดเจน ในขณะที่มวลกระดูกกำลังลดลงเรื่อย ๆ จากภาวะกระดูกพรุน แต่เรียกได้ว่าเป็น “ภัยเงียบ” ที่ก่อให้เกิดภาวะที่รุนแรงตามมาจากอาการกระดูกหักได้ เพราะความเปราะบางของกระดูก ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บ ภาวะกระดูกหักซ้ำ (Capture the Fractures) ทุพพลภาพ และอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ในที่สุดโดยปกติแล้ว ตั้งแต่วัยเด็ก กระดูกในร่างกายจะมีการสร้างเซลล์ใหม่และสลายเซลล์กระดูกเก่าอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอัตราการสร้างเซลล์กระดูกใหม่จะมีสูงมาก ต่อมาเมื่ออายุ 25-40 ปี อัตราการสร้างกระดูกและสลายกระดูกจะเท่ากันอยู่ในภาวะสมดุล จนกระทั่งเมื่ออายุ 40-50 ปีขึ้นไป อัตราการสลายกระดูกจะเริ่มมากกว่าการสร้างเซลล์กระดูก หมายความว่า มวลกระดูกจะค่อย ๆ ลดจำนวนลง โครงสร้างภายในของกระดูกจะถูกทำลายจนเกิดเป็นรูพรุนลักษณะคล้ายกับฟองน้ำ เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนขึ้น โดยมีสัญญาณที่สามารถสังเกตได้ เช่น อาการปวดตามบริเวณเอว หลัง ข้อมือ หรือรูปร่างที่เปลี่ยนแปลงไป หลังโก่ง ไหล่งุ้ม หรือเตี้ยลง เป็นต้น โดยกระดูกบริเวณที่พบว่ามีโอกาสหักได้บ่อย ได้แก่ กระดูกหลัง กระดูกสะโพก กระดูกข้อมือ อัตราการเกิด

พยาธิสรีรภาพ 
   ภาวะขาดเอสโตรเจนในวัยหมดประจำเดือนจะทำให้เซลล์กระดูกการสร้างและหลั่งไชโตไคน์  ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นเซลล์ทำลายกระดูก (Osteoclast) ทำให้มีการสลายกระดูกเพิ่มขึ้น จึงเกิดความไม่สมดุลระหว่าง การสร้างกระดูกและการสลายกระดูก มวลกระดูกจึงลดลง นอกจากนี้ผู้สูงอายุบริโภคแคลเซียมน้อยลง และกลไกการสังเคราะห์ วิตามินดีเสื่อม ซึ่งสารนี้สร้างที่ไตและช่วยดูดซึมแคลเซียม เมื่อปริมาณแคลเซียมจากอาหารไม่เพียงพอ ร่างกายจึงอาศัยแคลเซียมจากกระดูก โดยกระตุ้นให้มีการหลั่งพาราไทรอยด์ฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งไปกระตุ้นการทำงานของเซลล์ทำลายกระดูก ทำให้มีการสลายกระดูกมากขึ้น ในผู้สูงอายุมีแคลชิโตนินลดลง จึงไม่สามารถควบคุมการสลายกระดูกของเซลล์ทำลายกระดูกได้เหมือนเดิม มวลกระดูกจึงลดลงโดยเฉพาะที่บริเวณกระดูกฟองน้ำ กระดูกบาง เล่น กระดูกสันหลัง กระดูกเรเดียส กระดูกต้นขา เป็นต้น กระดูกสันหลังจะมีตัวของกล้ามเนื้อหลังและส่วนสูงลดลงหรือเนื่องจากกระดูกบางลงทำให้ไม่สามารถรับแรงได้ตามปกติ จึงเสี่ยงต่อการหักได้ง่าย ทำให้มีอาการปวดมีการเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ตามปกติ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรคกระดูกพรุน

ปัจจัยเสี่ยงกับโรคกระดูกพรุน


  1. ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะเพศหญิง
  2. หญิงวัยหมดประจำเดือน หรือตัดรังไข่ออกทั้ง 2 ข้าง
  3. กระดูกหักจากกระดูกบาง
  4. ผู้ที่ขาดการออกกำลังกาย
  5. รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอ
  6. สูบบุหรี่จัด
  7. ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และคาเฟอีนปริมาณมากๆ เป็นประจำ
  8. ผู้ที่กินยาบางชนิด ซึ่งทำให้การดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายลดลง เช่น ยารักษาไทรอยด์ ยาสเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ เป็นต้น
  9. ผู้ที่ป่วยเป็นโรคที่เกิดจากการทำงานของต่อมไร้ท่อผิดปกติ เช่น โรคไทรอยด์ โรคเบาหวาน
  10. โรคของต่อมหมวกไต หรือการเข้าเฝือกเป็นระยะเวลานาน โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
สิ่งที่จะทำให้ทราบได้ว่ากระดูกมีการเสื่อมสภาพ หรือไม่ ทำได้โดยการปรึกษาแพทย์เพื่อซักประวัติ เอกซเรย์ ตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก และหากพบความผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำในการดูแลที่ถูกต้อง



ประโยชน์ของงาดำที่มีต่อโรคกระดูกพรุน

งาดำมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิด จนได้ชื่อว่าเป็นอาหารและยาอายุวัฒนะของคนสมัยโบราณ โดยเฉพาะคนจีนที่นิยมใช้งาดำกันอย่างแพร่หลายในอาหารและใช้เป็นยารักษาโรคในทางการแพทย์แผนจีนมาเป็นเวลาหลายพันปีแล้ว โดยงาดำมีข้อมูลทางโภชนาการและสารอาหารที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
1. แคลเซียมสูงมาก
งาดำเป็นอาหารที่มีแคลเซียมสูงมาก โดยงาดำ 100 กรัม จะมีแคลเซียมอยู่ประมาณ 975 มิลลิกรัมและในหนึ่งวันตามมาตราฐานของ Thai RDI แนะนำให้คนทั่วไปได้รับแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายวันละ 800 มิลลิกรัม นั่นแสดงให้เห็นว่า หากเราบริโภคงาดำเพียงวันละ 100 กรัมหรือขีดเดียว ปริมาณแคลเซียมที่เราได้รับเข้าสู่ร่างกายก็เพียงพอตามมาตราฐานแล้ว

2. โปรตีนสูงคนทั่วไปส่วนมากมักได้รับโปรตีนจากการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ไม่ว่าจะเป็น เนื้อ นมหรือไข่ ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับงาดำกับผลิตภัณฑ์อาหารจากสัตว์แล้ว ปริมาณโปรตีนที่ได้จากผลิตภัณฑ์อาหารจากสัตว์อาจมีโปรตีนอยู่ในระดับที่เทียบเท่าหรือใกล้เคียงกันกับโปรตีนจากงาดำในน้ำหนักที่เท่ากัน 

3. ไขมันสูง

งาดำหรืองาสีอื่นมีไขมันโดยน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 40% – 50% โดยส่วนประกอบของไขมันที่มีอยู่ในงาดำจะมีทั้งเป็นกรดไขมันจำเป็น (ร่างกายสร้างเองไม่ได้ต้องได้รับจากอาหาร) อันได้แก่ กรดไขมันโอเมก้า 3 กรดไขมันโมก้า 6 และกรดไขมันไม่จำเป็น อันได้แก่ โอเมก้า 9 ซึ่งกรดไขมันเหล่าเป็นกรดไขมันที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพของคนเรามาก

4. คาร์โบไฮเดรตชนิดดี

ในงาดำมีคาร์โบไฮเดรตชนิดดีกล่าวคือ เป็นคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายค่อยๆย่อยและดูดซึมไปใช้อย่างค่อยเป็นค่อยไป เพราะมีส่วนผสมของไฟเบอร์หรือใยอาหารจากธรรมชาติ มีผลทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ในการหลั่งฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่เรียกว่า “อินซูลิน” ทำงานน้อยลง ต่างจากคาร์โบไฮเดรตชนิดไม่ดี ที่ทำให้ตับอ่อนต้องทำงานหนัก เพราะระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ตับอ่อนจึงจำเป็นต้องหลั่งฮอร์โมนอินซูลินออกมาเป็นจำนวนมากในระยะเวลาอันสั้น เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว

5. มีวิตามินหลากหลาย

ในงาดำมีวิตามินที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิด ได้แก่
  • วิตามิน B1
  • วิตามิน B2
  • วิตามิน B3
  • วิตามิน B5                                                                          
  • วิตามิน B6       
  • 6. มีแร่ธาตุจำเป็นที่หลากหลาย
  • คำว่าแร่ธาตุ หมายถึง แร่ธาตุหลักและแร่ธาตุรอง
  • แร่ธาตุหลัก คือ แร่ธาตุที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้ในปริมาณมากเป็นประจำทุกวัน เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและทำงานได้เป็นปกติ ในงาดำจะมีแร่ธาตุหลักดังต่อไปนี้ คือ แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัสโพแทสเซียม โซเดียม
    แร่ธาตุรอง คือ แร่ธาตุที่จำเป็นต้องร่างกายเช่นเดียวกันกับแร่ธาตุหลัก แต่ร่างกายต้องการในปริมาณไม่มาก ในงาดำจะมีแร่ธาตุรองดังต่อไปนี้ คือ เหล็ก สังกะสี แมงกานีส ทองแดง เซเลเนียม

การบดงาดำแบบโบราณ

ข้อควรระวังในการบริโภคงาดำ

การบริโภคงาดำถือเป็นการบริโภคที่ปลอดภัยและไม่มีผลข้างเคียงอะไรสำหรับคนทั่วไป อย่างไรก็ตาม ด้วยคุณสมบัติบางประการของงาดำ บุคคลบางกลุ่มจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานงาดำ หากมีท่านมีปัญหาสุขภาพดังต่อไปนี้

แพ้งา

การแพ้งามีความคล้ายคลึงกับการแพ้ถั่วที่หลายคนเป็นกัน การที่เราจะทราบได้ว่า เราแพ้งาหรือไม่ ? ต้องได้รับการตรวจหาสารก่อภูมิแพ้จากทางโรงพยาบาล ซึ่งแต่ละคนอาจจะมีสารก่อภูมิแพ้บางชนิดที่เหมือนกันหรือต่างกันก็ได้ หากท่านเคยแพ้ถั่ว เราแนะนำให้ท่านตรวจหาสารก่อภูมิแพ้

ท้องเสีย

จากงาดำมีสรรพคุณเป็นยาระบาย ผู้ที่มีอาการท้องเสียอยู่ก่อนแล้ว ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคงาดำหรือน้ำมันงาดำ จนกว่าอาการท้องเสียจะหายหรือทุเลาก่อน เพราะหากบริโภคงาดำเข้าไปในขณะที่ท้องเสีย อาจทำให้ท้องเสียมากยิ่งขึ้น

ซ้ายมือคืองาดำและขวามือคืองาที่ผ่านการขัดสีจนได้เป็นสีขาวเนียน


นวัตกรรมงาดำกับโรคกระดูกพรุน


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ น้ำมันงาดำ



 ถือเป็นข่าวดีสำหรับในวงการแพทย์ของไทย และเป็นข่าวดีสำหรับผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนและข้อเสื่อม เมื่อนักวิจัยจากภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ค้นพบวิธีรักษาและยับยั้งโรคกระดูกพรุนและข้อเสื่อม โดยไม่ต้องใช้ยารักษาได้เป็นครั้งแรกของโลกแถมยังมีคุณสมบัติเทียบเท่ายาที่นำเข้ามาจากต่างประเทศด้วยผลจาการศึกษาเพิ่มเติม ทำให้ค้นพบว่าในระดับที่ลึกลงไปว่า สารเซซามีนสามารถรักษาโรคกระดูกพรุนได้เป็นอย่างดี  และมีการทดลองที่ได้ผลชัดเจนแล้ว การค้นพบครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกของโลก เนื่องจากยังไม่มีที่ไหนได้ทดสอบและนำมาพิสูจน์อย่างจริงจังมาก่อน
ในอดีตจะเห็นว่า มีความเชื่ออย่างหนึ่งของคนโบราณ และวิธีการรักษาแบบหมอเมือง ที่นำน้ำมันงา มารักษาหลังจากที่ประสบอุบัติเหตุ จนกระดูกหัก แล้วก็บอกว่าเป็นน้ำมันต่อกระดูก มีการเป่ามนต์คาถา เพื่อรักษา ซึ่งเป็นความเชื่อที่สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยความเชื่อนี้ ทำให้นักวิจัยนำมาทดสอบทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการนำสารเซซามีนที่คิดค้นได้ จากงาทั้งหมด 3 ชนิด
คืองาดำ งาขาว และงาแดง เพื่อหาคุณสมบัติ กระทั่งพบว่า มีคุณสมบัติไม่แตกต่างกัน และเมื่อทดสอบในห้องปฏิบัติก็ทำให้รู้ว่า น้ำมันงาที่มีความเชื่อกันว่า สามารถรักษาโรคกระดูก หรือต่อกระดูกได้นั้น เป็นเรื่องจริง โดยน้ำมันงาจะซึมผ่านผิวหนังเพื่อเข้าไปช่วยในการฟื้นฟูกระดูกที่เสียหาย แต่ต้องใช้ระยะเวลาเพราะกระบวนการทำงานต้องดูดซึมผ่านรูขุมขน แต้ข้อพิสูจน์นี้ยังไม่มีใครค้นพบ

หลังจากได้ข้อมูลดังกล่าว นักวิจัยและคณาจารย์คณะแพทยศาสตร์ และนักศึกษาปริญญาเอก ได้นำไปทดสอบด้วยการทำเซลล์สลายกระดูกขึ้นมา จากนั้นก็นำกระดูกวัวที่ไม่เป็นโรคมาทดสอบและนำเซลล์สลายกระดูกที่คิดค้นขึ้นมาใส่ลงไป ก็พบการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น โดยกระดูกวัวที่นำมาทดสอบเกิดเป็นรูพรุน คล้ายกับกระดูกของมนุษย์ที่เมื่ออายุมากขึ้นจะมีเป็นโรคนี้ และผู้หญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ชาย ซึ่งหญิงไทยเป็นโรคนี้สูง 70 – 80 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบในอัตราส่วนประชากร 100 คน จะพบหญิงที่เป็นโรคนี้กว่า 10 คน หรือเกินกว่านั้น ในอายุที่สูงขึ้น

การบริโภคงาดำในรูปน้ำมัน

การบริโภคน้ำมันงาได้รับความนิยมมากในประเทศอินเดีย ทั้งในรูปน้ำมันประกอบอาหาร ยาสมุนไพร และการนวดเพื่อบำบัด
การสกัดงาเพื่อเอาน้ำมันนั้น ในสมัยก่อนจะใช้วิธีการบดงาให้ละเอียดแล้วบีบเอาเฉพาะน้ำมันงาแยกออกมา โดยจะเหลือกากงาที่สามารถนำไปทำแป้งงาได้ ซึ่งการบีบน้ำมันงาในสมัยก่อน ในกระบวนการบดงาจะทำให้เกิดความร้อน ซึ่งจะไปลดคุณค่าทางอาหารของน้ำมันงาและคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระลงด้วย
การสกัดน้ำมันงาในยุคปัจจุบัน จึงมีการพัฒนาวีธีการที่ทันสมัยมากขึ้น เพื่อรักษาคุณค่าทางอาหารของน้ำมันงาและคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระให้มากที่สุด การสกัดน้ำมันงาจึงใช้วีธีการสมัยใหม่ที่เรียกว่า การบีบเย็น (Cold Press) ซึ่งในกระบวนการบีบจะไม่เกิดความร้อน จึงส่งผลให้ได้น้ำมันงาที่มียังคงคุณค่าทางอาหารสูงและยังคงคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระสูงด้วย
การเก็บรักษาน้ำมันงาดำสกัดเย็น มีอยู่ 2 รูปแบบ รูปแบบแรกจะบรรจุอยู่ในภาชนะ เช่น ใส่ขวดหรือโหลที่มีฝาปิดมิดชิดป้องกันอากาศเข้า การเก็บในรูปแบบนี้มักจะนำน้ำมันไปประกอบอาหารหรือไปใช้ในการนวดเพื่อบำบัด
ส่วนการเก็บรักษาน้ำมันงาดำสกัดเย็นในรูปแบบที่สอง ซึ่งเป็นรูปแบบที่ดีทีสุด คือ การเก็บรักษาไว้ในรูปแคปซูลเจล ซึ่งช่วยคงคุณค่าทางอาหารและคุณสมบัติของน้ำมันงาดำสกัดเย็นได้อย่างครบถ้วน เนื่องจากน้ำมันงาดำไม่โดนอากาศและแสงแดดเลย จึงเหมาะสำหรับใช้รับประทานเพื่อดูแลสุขภาพมากที่สุด
การบริโภคน้ำมันงาดำสกัดเย็นชนิดแคปซูล จึงเป็นทางเลือกที่ดี สะดวก ปลอดภัยต่อผู้บริโภค เพราะนอกจากจะปลอดเชื้อราและไม่ผ่านความร้อนแล้ว ยังมีคุณค่าทางอาหารมากและมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงอีกด้วย






วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2561

โรคข้อเข่าเสื่อม
โรคเกลื้อน



กรุณาคลิกดูวีดีทัศน์ด้านล่าง

                                      
                                            

                                   

                 

















โรคกระดูกพรุน


โรคกระดูกพรุน

    โรคที่ความหนาแน่นและมวลของกระดูกลดน้อยลง กระดูกเสื่อม เปราะ บาง ผิดรูปและแตกหักได้ง่าย บางรายทำให้ส่วนสูงลดลงเพราะกระดูกผุกร่อน กระดูกจะไม่สามารถทำงานหรือเคลื่อนไหวได้ตามปกติ เช่น การทนรับน้ำหนัก แรงกระแทก หรือแรงกดได้น้อยลง เนื่องจากความเจ็บปวดจากรอยแตกร้าวภายใน ไปจนถึงการแตกหักของกระดูกส่วนสำคัญ ซึ่งอาจส่งผลทำให้พิการได้ เช่น กระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นศูนย์กลางเส้นประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวเสื่อม บาง แตกร้าว หรือหัก 
    
                                             à¸à¸£à¸°à¸”ูกพรุน

อาการของโรคกระดูกพรุน
คนที่ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนมักจะทราบว่าตนป่วยเมื่อมีอาการแสดงไปแล้ว และยังมีอาการบ่งชี้อื่น ๆ ที่ควรใส่ใจสังเกตอาการเพื่อให้สามารถรักษาได้ทันการณ์ ดังนี้
  • กระดูกแตกหักได้ง่ายแม้ถูกกระแทกไม่รุนแรง
  • ปวดหลังเรื้อรัง
  • หลังงอ
  • ความสูงลดลง
สาเหตุของโรคกระดูกพรุน

กระดูกจะมีเซลล์สร้างกระดูก (Osteoblast) ทำหน้าที่สร้างกระดูกขึ้นมาใหม่จากแคลเซียมและโปรตีน ตามกระบวนการ การเจริญเติบโตของร่างกายและทดแทนกระดูกส่วนที่สึกหรอ และมีเซลล์สลายกระดูก (Osteoclast) ทำหน้าที่ย่อยสลายเนื้อกระดูกเก่าโรคกระดูกพรุนเกิดจากการทำงานที่ไม่สมดุลกันของเซลล์กระดูก ทำให้มีการสลายกระดูกมากกว่าการสร้างกระดูก อาจเพราะมีปริมาณแคลเซียมในร่างกายไม่เพียงพอต่อกระบวนการสร้างกระดูก หรืออาจมีความผิดปกติของเซลล์กระดูก
  • อายุ - ด้วยวัยที่เพิ่มมากขึ้น กระบวนการเจริญเติบโตของร่างกายจะเริ่มช้าลง กระบวนการทดแทนกระดูกส่วนที่สึกหรอก็จะเป็นไปได้ช้า หากร่างกายขาดแคลเซียมในปริมาณที่จำเป็นต่อการสร้างกระดูก ก็จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน เมื่อแก่ตัวลง กระดูกก็จะบาง เปราะ แตกหักง่ายหากได้รับการกระเทือนแม้ไม่รุนแรงก็ตาม เช่น การล้ม การกระแทก
  • ฮอร์โมน - การลดระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ในเพศหญิง อย่างการเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กระดูกพรุนและเปราะบางลง ส่วนในเพศชายจะมีความเสี่ยงเกิดโรคกระดูกพรุนเมื่อมีการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone) ลดน้อยลง
  • กรรมพันธุ์ - ผู้ที่มีญาติใกล้ชิดทางสายเลือดที่มีประวัติป่วยเป็นโรคกระดูกพรุน ก็มีความเสี่ยงที่จะได้รับพันธุกรรมโรคดังกล่าวไปด้วย
  • ความผิดปกติในการทำงานของต่อมและอวัยวะต่าง ๆ - เช่น ต่อมไทรอยด์ ต่อมพาราไทรอยด์ ต่อมหมวกไต ไตและตับทำงานผิดปกติ
  • โรคและการเจ็บป่วย - ผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกพรุนอาจเกิดจากการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ เช่น โรคที่เกี่ยวข้องกับตับ ไต กระเพาะ ลำไส้อักเสบ โรคทางเดินอาหาร กรดไหลย้อน โรคความผิดปกติทางการกิน โรคภูมิแพ้ตัวเอง โรคแพ้กลูเตน โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคมะเร็งเม็ดเลือด โรคมะเร็งกระดูก
  • การบริโภค - กินอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในการสร้างกระดูกและการเจริญเติบโต กินอาหารที่ทำให้แคลเซียมเสียสมดุล อย่างอาหารจำพวกโปรตีนจากเนื้อสัตว์ซึ่งมีความเป็นกรดสูง น้ำอัดลม ชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ติดต่อกันปริมาณมากเป็นเวลานาน
  • การใช้ยา - ผู้ที่ป่วยและต้องรักษาด้วยการใช้ยาบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น กลุ่มยาสเตียรอยด์ ก็มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนเช่นกัน เพราะตัวยาบางชนิดจะออกฤทธิ์ไปรบกวนกระบวนการสร้างกระดูก เช่น ยาเพรดนิโซโลน (Prednisolone) มีฤทธิ์ต่อระบบภูมิคุ้มกัน ใช้รักษาอาการอักเสบและใช้รักษาร่วมในหลายโรค อย่างหอบหืดหรือลมพิษ
  • การใช้ชีวิตประจำวัน - การนั่งหรืออยู่ในอิริยาบถท่าใดท่าเดิมเป็นเวลานาน หรือการทำงานที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายอย่างหักโหมล้วนส่งผลต่อสุขภาพกระดูกทั้งสิ้น ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ก่อความเสี่ยงให้เกิดโรคสูง
  • ในส่วนของการดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย ผู้ที่ออกกำลังกายอย่างหนักหรือเลือกใช้วิธีออกกำลังกายที่ใช้พละกำลังสูง อย่างการยกน้ำหนัก ควรตรวจเช็คสุขภาพและความพร้อมของร่างกายอยู่เสมอ ไม่หักโหมจนเกิดความเสี่ยงที่เป็นอันตรายต่อกระดูกและร่างกาย

  • ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กายวิภาค โรคกระดูกพรุน
การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน
การตรวจว่าเป็นโรคกระดูกพรุนหรือไม่ ทำได้โดยการฉายภาพรังสี คือ
  • DEXA Scan (Dual Energy X-ray Absorption) เป็นเครื่องตรวจหาความหนาแน่นของกระดูก ที่มีความแม่นยำสูง ใช้เวลาในการสแกนน้อย ปริมาณรังสีที่เข้าสู่ร่างกายในขณะสแกนต่ำ ไม่สร้างความเจ็บปวดแก่ผู้ป่วย ใช้เวลาในการตรวจประมาณ 20 นาที เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากในการประเมินความหนาแน่นของกระดูก สามารถตรวจพบภาวะกระดูกพรุนประกอบการวินิจฉัยเพื่อการรักษาได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่มของโรค
  • ค่าความหนาแน่นของกระดูก (Bone Mineral Density - BMD) ของคนปกติจะอยู่ที่ >-1.0 คนที่มีภาวะกระดูกบาง (Osteopenia) จะมีค่า BMD อยู่ระหว่าง -1.0 ถึง - 2.5 และผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนมีค่า BMD < - 2.5
การรักษาโรคกระดูกพรุน
เนื่องจากโรคกระดูกพรุนเกิดจากภาวะกระดูกเสื่อมที่มาจากหลายสาเหตุ วิธีรักษาคือกระตุ้นการทำงานของเซลล์สร้างกระดูก และลดการทำงานของเซลล์สลายกระดูก ได้แก่ การเพิ่มยาเม็ดเสริมแคลเซียมและการรับวิตามินดีที่ช่วยเสริมการดูดซึมแคลเซียม รวมทั้งรักษาระดับแคลเซียมในกระแสเลือด ช่วยในการรักษามวลกระดูกให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งวิตามินชนิดนี้สามารถสังเคราะห์ได้เองทางผิวหนังด้วยการรับแสงแดดอ่อน ๆ ในตอนเช้าการรักษาโรคกระดูกพรุนด้วยยา ใช้ยาอะเลนโดรเนท (Alendronate) ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเซลล์สลายกระดูก ทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมไปใช้ในกระบวนการสร้างกระดูกเพิ่มขึ้น ไรซีโดรเนท (Risedronate) จะออกฤทธิ์ต่อเนื้อเยื่อกระดูก ลดอัตราการสลายตัวของกระดูก 
ภาวะแทรกซ้อนของโรคกระดูกพรุน
เมื่อกระดูกพรุน ปัญหาที่ตามมาคือ ความเจ็บปวดจากภาวะกระดูกทรุดตัว ปวดหลัง ส่งผลให้เคลื่อนไหวได้อย่างจำกัด มีความสามารถในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ลดลง โดยเฉพาะกิจกรรมนอกบ้านหรือการเข้าสังคม ทำให้อาจเก็บตัวแยกตัวออกจากสังคม ส่งผลให้อาจเกิดภาวะซึมเศร้าต่อไปได้ รวมทั้งกระดูกหัปโดยเฉพาะหากมีการแตกหักของกระดูกสะโพก จะทำให้ผู้ป่วยเดินไม่ได้ ขยับตัวลำบากเพราะความเจ็บปวด ต้องนั่งหรือนอนอยู่กับที่ตลอดเวลา จึงเสี่ยงต่อการเกิดโรคและอาการแทรกซ้อนซึ่งอาจเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้ อย่างการเกิดแผลกดทับ หรือโรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น
การป้องกันโรคกระดูกพรุน
คนทั่วไปสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงการเกิดโรคกระดูกพรุนได้ด้วยตนเอง ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช้แรงที่หักโหมจนเกินไป รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตามโภชนาการที่ร่างกายควรได้รับ โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีซึ่งเป็นสารหลักที่สำคัญต่อการสร้างกระดูก อาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ นม น้ำส้ม เต้าหู้ งา กุ้งฝอย ปลาตัวเล็ก ถั่วต่าง ๆ และผักใบเขียว อย่างผักคะน้า ผักกระเฉด ใบยอ ใบชะพลู สะเดา กะเพรา ตำลึง เป็นต้น ส่วนอาหารที่มีวิตามินดี ได้แก่ ตับ ไข่แดง นม เนื้อ ปลาทู ฟักทอง เห็ดหอม การรับแสงแดดอ่อน ๆ ในตอนเช้าอาจช่วยเพิ่มปริมาณวิตามินดีในเลือด และควรได้รับปริมาณโปรตีนที่เหมาะสมทั้งโปรตีนจากพืชและสัตว์
ส่วนสิ่งที่ควรบริโภคอย่างระวัง หรืองดเว้นหากเป็นไปได้ คือ เครื่องดื่มที่มีค่าความเป็นกรดสูงอย่างแอลกอฮอล์หรือน้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอย่างชา กาแฟ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือใช้สารเสพติด รวมทั้งระมัดระวังในการใช้ยา โดยเฉพาะการใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นเวลานาน


กายวิภาคเกี่ยวกับโรคกระดูกพรุน

      โรคกระดูกพรุน มีกระดูกส่วน Cortex บางลง มีกระดูกส่วน Cancellous บางลง กระดูกสันหลังส่วนแข็งอาจจะไม่สามารถรับแรงกระแทกและน้ำหนักตัวต่างๆ ได้ตามปกติ ทำให้เกิดภาวะกระดูกสันหลังยุบ หรือการมีกระดูกสันหลังหักในผู้สูงอายุตามมาได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่มนุษย์จะต้องรักษาคุณภาพของกระดูกส่วนแข็งนี้ไว้เพื่อให้สามารถใช้งานได้ตลอดช่วงชีวิตของมนุษย์
 - Cancellous นี้เป็นที่อยู่ของไขกระดูก (Bone Marrow) ซึ่งให้ความสำคัญในการเป็นแหล่งผลิตเม็ดเลือดและโปรตีนภายในกระแสเลือดที่สำคัญของร่างกายอีกแห่งหนึ่ง ในภาวะกระดูกปกติกระดูกสันหลังส่วนแข็งนี้ก็จะมีความยาวที่เหมาะสมและสามารถรองรับน้ำหนักของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะยืน นั่ง นอน กระโดด หรือวิ่งแต่ในกรณีที่กระดูกสันหลังส่วนแข็งมีคุณภาพลดต่ำลง 

Gray252.png

 -Cortex เป็นกระดูกยาวที่อยู่ภายในต้นขา (thigh) ในมนุษย์ถือว่าเป็นกระดูกที่ยาวที่สุด มีปริมาตรมากที่สุด และแข็งแรงที่สุด ความยาวของกระดูกต้นขาโดยเฉลี่ยของมนุษย์ประมาณ 48 เซนติเมตร และเส้นรอบวงโดยเฉลี่ย 2.34 ซม. และสามารถรับน้ำหนักได้ถึง 30 เท่าในผู้ใหญ่กระดูกนี้รับเข้ากับส่วนของสะโพกที่เบ้าหัวกระดูกต้นขา (acetabulum)และส่วนของเข่า

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรคกระดูกพรุน



      
งาดำ กับวิธีรักษา โรคกระดูกพรุน-ข้อเสื่อม โดยไม่ต้องใช้ยา

                                  images-36            
                                             

ถือเป็นข่าวดีสำหรับในวงการแพทย์ของไทย และเป็นข่าวดีสำหรับผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนและข้อเสื่อม เมื่อนักวิจัยจากภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ค้นพบวิธีรักษาและยับยั้งโรคกระดูกพรุนและข้อเสื่อม โดยไม่ต้องใช้ยารักษาได้เป็นครั้งแรกของโลกแถมยังมีคุณสมบัติเทียบเท่ายาที่นำเข้ามาจากต่างประเทศด้วย
ผลงานวิจัย
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประสบผลสำเร็จในการค้นพบและวิจัยสารเซซามีนในงาดำ เป็นอาหารเสริมยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลมะเร็ง ฟื้นฟูสภาพร่างกายให้กลับมาเป็นปกติ เป็นครั้งแรกของโลก นำไปจดสิทธิบัตรแล้วใน 3 ประเทศ รองศาสตราจารย์ ดร.ปรัชญา คงทวีเลิศ อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.)ได้วิจัยและค้นพบว่า”งาดำ”มีสารเซซามิน ที่ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็ง และ ช่วยฟื้นฟูสภาพเซลล์ที่เสื่อมสภาพได้เป็นครั้งแรกของโลก การศึกษาวิจัยครั้งนี้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2553 กระทั่งมาประสบความสำเร็จในปีนี้ โดยค้นพบว่าในเมล็ดงาดำ มีสารเซซามินอยู่ภายใน ซึ่งสารตัวนี้สามารถช่วยยับยั้งการพัฒนาเซลล์ต้นกำเนิดของเซลล์สลายกระดูกที่ทำให้เกิดโรคข้อเสื่อม โรคกระดูกพรุนได้ โดยจะเข้าไปทำให้แคลเซียมประสานกับกระดูกเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยในเรื่องของโรคเกี่ยวกับสมอง ไม่ว่าจะเป็นเส้นเลือดอุดตันในสมอง เส้นเลือดแตกที่ทำให้เป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โดยสารเซซามินจะเข้าไปช่วยปกป้องเซลล์ประสาทที่ยังดีอยู่ และช่วยฟื้นฟูเซลล์ประสาทที่เสื่อมสภาพที่สุดท้ายก็เป็นโรคมะเร็ง ที่ถือเป็นโรคที่เกิดมากเป็นอันดับ 1 ในขณะนี้ซึ่งเซลล์มะเร็งนั้นจะแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว เพราะมีเส้นเลือดใหม่ที่เกิดขึ้นมาแล้วไปสร้างการหล่อเลี้ยงให้กับเซลล์มะเร็งนั้นๆ จากนั้นก็จะแพร่กระจายไปเรื่อย ซึ่งสารเซซามินจะเข้าไปปกป้องเซลล์ พร้อมกับตัดวงจร หรือ ลดเส้นเลือดใหม่ที่เป็นน้ำเลี้ยงให้กับเซลล์มะเร็ง พร้อมกับค่อยๆ ฟื้นฟูสภาพเซลล์ให้กลับคืนมา 
ถือเป็นข่าวดีในวงการวิจัยและวงการแพทย์ของไทย และเป็นอีกหนึ่งความหวังของผู้ป่วย เมื่อนักวิจัยของภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้วิจัยและค้นพบว่าใน “งาดำ” มีสารเซซามิน ที่ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็ง และช่วยฟื้นฟูเซลล์สมองที่เสื่อมจากการเจ็บป่วย หรือ ได้รับการกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุได้เป็นครั้งแรกของโลก รศ. ดร.ปรัชญา คงทวีเลิศ อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า การศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้รับทุนสนับสนุน โดยทุนวิจัยจากเซเรบอส อวอร์ด สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โครงการวิจัยนวัตกรรมทางเคมี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะแพทยศาสตร์ โดยการวิจัยมุ่งเน้นการค้นคว้าหาสรรพคุณในพืช-ธัญพืช-ผักพื้นบ้าน ที่สามารถรักษาและฟื้นฟูสภาพร่างกายของคนไม่ว่าจะเป็นคนปกติ ผู้ป่วย หรือคนที่พักฟื้นจากการเจ็บป่วย เนื่องจากปัจจุบันมีการนำพืชหลายชนิดมาแปรรูปเป็นอาหารเสริม แต่ส่วนใหญ่มีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ บางยี่ห้อมีการแอบอ้างสรรพคุณต่าง ๆ มากมาย จนอาจจะเป็นผลเสียต่อผู้บริโภคได้ และบางยี่ห้อมีราคาสูง คณะผู้วิจัยเล็งเห็นถึงปัญหาจึงได้ค้นคว้าหาพืชต่าง ๆ ในประเทศ “กระทั่งค้นพบว่า “งาดำ” มีสารสกัดที่มีสรรพคุณมากมาย


อ้างอิง
http://www.kwanthaiherb.com
https://www.pobpad.com/
http://www.kwanthaiherb.com
https://www.honestdocs.co